11446 จำนวนผู้เข้าชม |
การทำพาสซิเวชั่น ในสแตนเลส (Passivation of Stainless Steel)
สแตนเลส คือวัสดุที่มีความทนทานการกัดกร่อนสูง ทนทานการเกิดสนิมมากกว่าวัสดุทั่วไป แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่เกิดสนิมเลย ตราบใดที่ผิวของสแตนเลส (Passive Film) ยังไม่ถูกทำลายไป โดยปกติแล้วพื้นผิวของสแตนเลส จะมี Passive Film เกิดขึ้นเองอยู่ที่พื้นผิวของโลหะ เมื่อมาขึ้นรูปเป็นชิ้นงาน Passive Film นี้จะถูกทำลายจากความร้อนสูงในกระบวนการ “ตัด-ต่อ-เชื่อม” ทำให้ผิวของสแตนเลส (Passive Film) ถูกทำลายไป รวมถึงการใช้งานที่เกิดจากการผลิต และมีการสัมผัสกับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตที่มีฤทธิ์ในการกัดกร่อนอยู่เป็นเวลานานทำให้ผิวของสแตนเลสเกิดการถูกทำลายไปเรื่อยๆ
. เพื่อเป็นการคืนพื้นผิวของสแตนเลสให้กลับมาเป็นปกติที่มีสภาพทนทานการกัดกร่อนสูง ทนทานการเกิดสนิม มากกว่าวัสดุทั่วไป จำเป็นต้องมีการทำพาสซิเวชั่น (Passivation) โดยมีการขัดพื้นผิวที่มีปัญหา (ที่เป็นสนิม) หรือการใช้สารเคมีกรดกัดสนิม(Pickling) ออกจากชิ้นงาน แล้วจึงใช้สารเคมีกรดเข้าไปช่วยทำลายเศษเหล็กที่หลงเหลืออยู่(Passivation) เพื่อทำให้โครเมียมที่ผิวเกิดการรวมตัวกับอ๊อกซิเจนในอากาศกลายเป็น Chromium(III)oxide หรือ Passive Film ได้อย่างรวดเร็ว ช่วยป้องกันให้พื้นผิวสแตนเลสเกิดความทนทานต่อการกัดกร่อนอีกครั้งหนึ่ง
ดังนั้นก่อนใช้งานสแตนเลสทุกครั้ง จึงจำเป็นต้องมีการทำการทำพาสซิเวชั่น (Passivation) เพื่อให้เกิด Passive Film เพื่อให้ชิ้นงานสแตนเลสมีประสิทธิภาพในการทนทานการกัดกร่อนสูง ตรงตามวัตถุประสงค์ของการเลือกใช้งานวัสดุสแตนเลส