1571 จำนวนผู้เข้าชม |
Question 1: เมื่อใดที่จำเป็นต้องมีการทำ Passivation
Answer:
• เมื่อมีการติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์สแตนเลสใหม่ในระบบการผลิตเป็นครั้งแรกหรือนำกลับมาใช้ใหม่
• เมื่อมีการ ตัด-ต่อ-เชื่อม ชิ้นงานสแตนเลส ไม่ว่าจะเกิดจากการติดตั้งใหม่ หรือการซ่อมแซมชิ้นงานสแตนเลส
• เมื่อมีการใช้งานท่อ และถังสแตนเลสมาเป็นระยะเวลานานจนผิวสแตนเลสเกิดการสึกกร่อน (ส่วนใหญ่ประมาณ 2-3 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน)
• เมื่อเกิดคราบสนิมบนผื้นผิวของสแตนเลส
Question2: เมื่อใดที่จำเป็นต้องมีการทำ Derouging
Answer:
• เมื่อมีคราบ Rouging กิดขึ้นบนอุปกรณ์สแตนเลส ที่เกิดจากการใช้น้ำ DI water , PW water , ระบบน้ำกลั่น ในการผลิต โดยเฉพาะถ้ามีความร้อนเข้ามาร่วมด้วยในระบบ จะทำให้คราบ Rouging บนผิวสแตนเลส เกิดได้เร็วขึ้น (ส่วนใหญ่ประมาณ 1-2 ปี ก็จะเกิดปัญหานี้ในกระบวนการผลิต)
• ปัญหานี้ส่วนใหญ่จะเกิดในโรงงานผลิตยา , โรงงานผลิตเครื่องสำอางค์ และโรงงานผลิตอาหารเสริม ซึ่งมีการใช้น้ำ Hot DI , Pw water , น้ำกลั่น ในระบบการผลิต เป็นประจำ ควรให้ความสำคัญในการตรวจตราและดูแล เพราะปัญหาเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเกิดผลกระทบกับมาตรฐานการผลิตคุณภาพของสินค้าที่ผลิตออกสู่ตลาด
Question 3: เมื่อใดที่จำเป็นต้องมีการทำ Descaling
Answer:
• เมื่อมีคราบตะกรัน(Scaling) เกิดขึ้นบนชิ้นงานสแตนเลส ที่ใช้ในระบบการผลิต ส่วนใหญ่จะเกิดกับอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน ได้แก่ Plate Heat Exchanger , Shell and Tube Heat Exchanger (ส่วนใหญ่ประมาณ 1-2 ปี ขึ้นกับคุณภาพน้ำและการดูแลระบบ)
• ปัญหานี้สามารถเกิดขึ้นได้ในโรงงานทุกประเภท พนักงานควรจะมีการตรวจตราและดูแลรักษาอยู่เป็นประจำ เพราะเมื่อเกิดปัญหานี้ขึ้นจะส่งผลให้เกิดปัญหาในกระบวนการแลกเปลี่ยนความร้อนในระบบการผลิต ทำให้อุณหภูมิในการแลกเปลี่ยนไม่เป็นไปตามมาตรฐานการผลิต เกิดผลกระทบในการผลิตและคุณภาพของสินค้าที่ผลิตออกมาสู่ตลาด
Question 4: เมื่อใดที่จำเป็นต้องมีการทำ Biofilm Removal
Answer:
• เมื่อมีการติดเชื้อในระบบการผลิตยา , ผลิตเครื่องสำอางค์, อาหารและเครื่องดื่ม, อาหารเสริม
• ปัญหานี้สามารถเกิดขึ้นได้ในโรงงานทุกประเภท ซึ่งการจะกำจัด Biofilm เหล่านี้ จะต้องใช้สารเคมีกรดและด่าง ในการทำลาย Biofilm ก่อนที่จะใช้สารเคมีฆ่าเชื้อในการฆ่าเชื้อในระบบอีกทีหนึ่ง เพระถ้าไม่มีการทำลาย Biofilm ด้วยสารเคมีกรดและด่างก่อน การใช้สารฆ่าเชื้อหรือน้ำร้อนเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถทำลายเชื้อที่อยู่ในระบบได้
Question 5: วัสดุอะไรบ้างที่สามารถทำ Passivation ได้
Answer:
• ปกติการทำ Passivation จะทำในพื้นผิวสแตนเลสเป็นหลัก เป็นสแตนเลสที่จัดอยู่ในซีรี่ส์ 300 (series 300) เป็นสแตนเลสที่นำใช้งานอย่างกว้างขวางในเครื่องจักร และอุปกรณ์แปรรูปอาหาร เกรดที่นิยมใช้มากที่สุด คือ 304 และ 316 มีส่วนผสมของโครเมียม (Cr) อย่างน้อย 16 เปอร์เซนต์ และมีนิกเกิล (Ni) ซึ่งช่วยปรับปรุงสมบัติในการขึ้นรูป ความแข็งแรง บางเกรดจะมี โมลิบดินัม (Mo) ผสมอยู่ด้วยเพื่อเพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อน
Question 6: การทำ Passivation สามารถกำจัดคราบสนิมได้หรือไม่
Answer:
• การทำ Passivation สามารถกำจัดสนิมได้เพียงเบื้องต้น เช่น Free iron หรือคราบบางๆละอองของสนิม และคราบเศษเหล็กที่อยู่บนพื้นผิวที่ยังไม่ฝังตัวแน่น ถ้ามีสนิมที่ฝังตัวแน่นบนชิ้นงานแล้ว จำเป็นต้องได้รับการทำ Pickling เพื่อเป็นการจัดการและเตรียมพื้นผิวก่อนทำ Passivation ในลำดับถัดไป
Question 7: การทำ Combined – Passivation คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
Answer:
• การทำ Combined - Passivation คือ การนำเอาขั้นตอนการทำ Pickling มาประยุกต์ใช้ร่วมกับการทำ Passivation เพื่อหวังผลในการขจัดคราบสนิมและคราบแนวรอยเชื่อม (ในชิ้นงานที่มีการตัดต่อเชื่อมใหม่และมีคราบแนวรอยเชื่อมอยู่ภายใน) ร่วมด้วยทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่จะต้องมีการทำขั้นตอน Pickling ขึ้นมาอีกขั้นตอนหนึ่งเพื่อเตรียมสภาพผิวสแตนเลส ก่อนการทำ Passivation ซึ่งผลที่ได้รับจากการทำ Combine Passivation ไม่แตกต่างกันในขั้นตอนที่จะต้องทำ Pickling ร่วมด้วย
• อย่างไรก็ตามการที่จะเลือกใช้วิธีการใด สามารถปรึกษาทีมผู้เชียวชาญของบริษัท เพื่อให้คำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของชิ้นงานอย่างสูงสุด